วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบกล้ามเนื้อ


สมาชิกภายในกลุ่ม
1.นายก้องภพ เชาวนวรกุล ม.4/2 เลขที่ 9
2.นายณภัทร วศินนิติวงศ์ ม.4/2 เลขที่ 11
3.นายนนท์ปวิธ ภูมิมณี ม.4/2 เลขที่ 13
4.นายสพล อินทรเนตร ม.4/2 เลขที่ 20

ระบบกล้ามเนื้อ 
            ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหวและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหว ของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของ เส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และการทำงานของปอด เป็นต้น การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น
            กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบใหญ่ของร่างกายมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญที่สุด ทำหน้าที่ในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย หรือ เพียงบางส่วน เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของระบบทาง เดินอาหาร เป็นต้น กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมี น้ำหนักประมาณ 2/5 ของน้ำหนักตัวส่วนใหญ่อยู่บนรอบแขนและขา ซึ่งยึดติดกันอยู่โดยอาศัยข้อต่อ (Joints)และเอ็น (Tendon)ทำให้ร่างกายประกอบเป็นรูปร่างและทรวดทรงขึ้นมาอย่างเหมาะสม

            กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 
1.กล้ามเนื้อลาย
          นับได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและมีอยู่ถึงร้อยละ ๔๐ ของน้ำหนักตัว กล้ามเนื้อทั้งมัดประกอบด้วยหลายมัดย่อย    (bundle) และแต่ละมัดย่อยประกอบด้วยใย (fiber) ใยกล้ามเนื้อมีขนาดประมาณ ๖๐ ไมครอน และ มีความยาวตั้งแต่ ๒-๑๐   เซนติเมตร แต่ละใยประกอบด้วยใยฝอย (fibril)  ซึ่งมีขนาดประมาณ ๑ ไมครอน แต่ละใยฝอยประกอบด้วยไมโอฟิลาเมนท์ (myofilament) อันเป็นหน่วยเล็กที่สุดของกล้ามเนื้อที่ทำงาน ซึ่งประกอบด้วยแอกติน (actin) และไมโอซิน (myosin) แอกตินเป็นเส้นบาง ยาว ๑ ไมครอน และหนา ๕๐ อังสตรอม ส่วนไมโอซินยาว ๑.๕ ไมครอนและหนา ๑๐๐ อังสตรอม กลไกการทำงาน
          กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะใหญ่ ในการทำงานต้องได้รับคำสั่งมาจากระบบประสาทกลาง และเพื่อให้การแผ่คำสั่งไปได้กว้างขวางและรวดเร็วจึงต้องอาศัยการเปลี่ยน แปลงทางไฟฟ้า ทั้งการทำงานต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี จึงมีความสำคัญไม่น้อย หลังจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง แล้วจึงตามด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงกล อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามลำดับขั้นทีเดียว มีการเหลื่อมล้ำกันบ้าง

งานของกล้ามเนื้อลาย
         กล้ามเนื้อลายในร่างกายสามารถออกแรงดึงได้มาก เช่น กล้ามเนื้อในร่างกายซึ่งมีถึง ๒.๗ x ๑๐ ๘ ใย สามารถดึงน้ำหนักได้รวมกันถึง ๒๕ ตัน หรือกล้ามเนื้อน่องขณะวิ่งจะยกน้ำหนัก
ได้ถึง ๖ เท่าของน้ำหนักตัว
          มีผู้ได้ศึกษาแรงดึงของกล้ามเนื้อและพบว่า แรงดึงของกล้ามเนื้อในชายเฉลี่ย ๖.๓ กิโลกรัม ต่อพื้นที่ภาคตัดของกล้ามเนื้อ ๑ ตารางเซนติเมตร ในหญิงได้ค่าไม่แตกต่างจากชาย
          แต่การทำงานจริงๆ ในร่างกายนั้นกล้ามเนื้อต้องเสียเปรียบอยู่มาก เช่น ในการงอข้อศอก กล้ามเนื้อไบเซพส์ต้องดึงกระดูกที่อยู่ห่างจุดหมุนเพียงไม่กี่เซนติเมตร แต่ต้องยกน้ำหนักด้วยมือที่อยู่ห่างจากจุดหมุนถึง ๑๐-๒๐ เท่า ทำให้กล้ามเนื้อไบเซพส์ต้องออกแรงดึงมากกว่าน้ำหนักที่ต้องยก ๑๐-๒๐ เท่า นอกจากนั้นทิศทางของใยกล้ามเนื้อไม่ได้อยู่ในแนวของแรงดึงอีกด้วย การเสียเปรียบดังกล่าวนี้ร่างกายต้องยอม เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เพื่อลดรูปร่างของร่างกายให้เหมาะสมและดูสวยงาม



กล้ามเนื้อลาย
2. กล้ามเนื้อเรียบ
            กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นผนังส่วนกลางของอวัยวะภายในที่มีลักษณะเป็น โพรงหรือเป็นท่อ เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร มดลูก ไต ลำไส้ หลอดลม หลอดเลือดและท่อปัสสาวะ เป็นกล้ามเนื้อหูรูดของม่านตา และยังเป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้ขนลุกซู่อีกด้วย การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบทำให้เกิดการเคลื่อนที่เดินทางของสารหรือสิ่งที่อยู่ภายในอวัยวะส่วนนั้น เช่น การที่กล้ามเนื้อในหลอดอาหารผลักก้อนอาหารต่อๆ กันไปเป็นจังหวะ (peristalsis) นอกจากนี้กล้ามเนื้อเรียบในส่วนกระเพาะอาหารยังช่วยบด และคลุกเคล้าอาหารเข้ากับน้ำย่อย ทำให้โมเลกุลของสารอาหารแตกตัว สำหรับวงกล้ามเนื้อของม่านตามีหน้าที่ในการปรับขนาดรูม่านตา ป้องกันแสงไม่ให้เข้าสู่ลูกตามากเกินไปจนเป็นอันตราย การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบไม่อยู่ในความควบคุมโดยตรงของจิตใจ มันจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติและฮอร์โมนต่างๆ
              กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ และ คุณสมบัติทางสรีรวิทยาแตกต่างกันเองมาก ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกันเช่นกล้ามเนื้อลาย จึงเป็นการยากที่จะอธิบายสรีรวิทยาของกล้ามเนื้อเรียบแบบเดียวที่อาจถือเป็น ตัวแทนของกล้ามเนื้อเรียบทั้งหมด อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทั่วไปทางสรีรวิทยา ซึ่งเหมือนกัน ๓ ประการ คือ
                     ๑) สามารถหดตัวได้ช้า นาน และสิ้นเปลืองพลังงานน้อย
                     ๒) ประสาทยนต์ที่มาเลี้ยง มาจากระบบประสาทอัตบาล
                     ๓) มีความตึงตัวอยู่เองภายในกล้ามเนื้อ
 
กล้ามเนื้อเรียบ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ
               กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle หรือ heart muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษพบ เฉพาะในหัวใจและเส้นเลือดใหญ่ในหัวใจเท่านั้น การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีการหดตัวคลายตัวเป็นจังหวะด้วยตัวเอง กล้ามเนื้อหัวใจจะมีการหดตัวและคลายตัวเวลาที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ การเต้นตุบตับของหัวใจแต่ละจังหวะหมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัวและคลาย ตัว การหดตัวมีผลทำให้โลหิตถูกฉีดออกไปทางเส้นเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำ ในแต่ละวันหัวใจเราเต้นได้เป็นแสนครั้งโดยไม่มีการหยุดพัก แต่เราไม่อาจบังคับให้หัวใจเต้นไปตามจังหวะเพลงอย่างที่แขน ขา ลำตัว ทำได้ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจหดตัวเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องรอฟังคำสั่งจากสมอง อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากสภาวะต่างๆ ของร่างกาย จากอารมณ์ หรืออุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นจากการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) และฮอร์โมนต่างๆ
กล้ามเนื้อหัวใจ





ข้อมูลจาก http://202.143.128.66/~lib/krupong/web1/muscle2.htm
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/muscle/chapter1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น